วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

ตลาดหุ้นเอเชียและไทย: แม้ปรับขึ้นต่อได้ แต่ก็เผชิญหลากประเด็นที่ต้องจับตา

ตลาดหุ้นเอเชียและไทย: แม้ปรับขึ้นต่อได้ แต่ก็เผชิญหลากประเด็นที่ต้องจับตา

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา สภาพคล่องหรือกระแสเงินทุนเคลื่อน
ย้ายระหว่างประเทศ นับว่ามีบทบาทอย่างมากในการกำหนดทิศทางตลาดเงินและตลาดทุนทั่ว
โลก โดยความแตกต่างของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจจากภูมิภาคต่างๆ และโอกาสในการสร้าง
ผลตอบแทนจากการลงทุน เป็นเหตุผลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากแห่ง
หนึ่งไปสู่อีกแห่งหนึ่ง
หากพิจารณาเฉพาะเจาะจงไปที่การลงทุนในตลาดหุ้น จะพบว่า ตั้งแต่ต้นปี 2553 เป็น
ต้นมา ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) มีการปรับตัวขึ้นในอัตราที่สูง โดยจนถึงวัน
ที่ 23 กันยายน 2553 ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 30% ใกล้เคียงกับระดับสูงสุดในรอบ 14
ปี ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในประเทศแถบเอเชีย (ตั้งแต่ต้นปี ดัชนี
SET ปรับขึ้นมากสุดเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ซึ่งส่วนหนึ่งคงต้องยอมรับว่า
ปัจจัยพื้นฐานที่ยังคงแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย เป็นปัจจัยที่หนุนให้ตลาดหลัก
ทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ผลตอบ
แทนยังอยู่ในแดนลบ จากความผันผวนของเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed
Market: DM) อาทิ ภาวะวิกฤตหนี้ในภูมิภาคยุโรป และความกังวลต่อการเกิดภาวะถดถอยของ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในขณะที่ การดำเนินมาตรการผ่อนคลายสภาพคล่อง (Quantitative
Easing) ได้ส่งผลให้สภาพคล่องยังคงอยู่ในระดับที่สูง ส่งผลให้เกิดกระแสเงินทุนไหลเข้าใน
ภูมิภาคเอเชียและหนุนให้ตลาดหุ้นมีการปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นใน
ภูมิภาคเอเชียและตลาดหุ้นไทยในระยะที่ผ่านมา รวมถึงปัจจัยสนับสนุนและประเด็นที่ต้องจับตา
ในระยะถัดไป ดังนี้
เงินทุนเคลื่อนย้ายจาก DM ไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่ต้นปี
2552 เป็นต้นมา พบว่า เงินทุนไหลเข้ากองทุนตราสารทุนในตลาดเกิดใหม่และตลาดในภูมิภาค
เอเชียสูงถึง 20.8 พันล้านดอลลาร์ฯ และ 4.1 พันล้านดอลลาร์ฯ ตามลำดับ ในขณะที่กองทุนตรา
สารทุนในภูมิภาคยุโรปมีเงินทุนไหลออกสูงถึง 9.9 พันล้านดอลลาร์ฯ สำหรับตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทยนั้น ยอดซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ (ม.ค. 2552 - 23 ก.ย. 2553) มีจำนวน
67,350 ล้านบาท (ประมาณ 2.19 พันล้านดอลลาร์ฯ) และ (ม.ค. 2553 - 23 ก.ย. 2553)
29,254 ล้านบาท (ประมาณ 0.95 พันล้านดอลลาร์ฯ) นอกจากนี้ หากพิจารณาอัตราส่วนปริมาณ
เงินต่อจีดีพี (M2-to-Nominal GDP Ratio) ซึ่งชี้วัดถึงภาวะสภาพคล่อง พบว่า อัตราส่วนดัง
กล่าวของประเทศในภูมิภาคเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงถึงสภาพคล่องในระบบ
เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมากนับตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน
การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียยังดูดีกว่าโดยเปรียบเทียบ อัตราการ
ขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งส่วน
หนึ่งเป็นผลมาจากภาคส่งออกที่ได้รับผลบวกจากการค้าภายในภูมิภาคและข้อตกลงเขตการค้า
เสรี โดยอัตราการขยายตัวของภาคการส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเชียหลายๆ ประเทศอยู่ใน
ระดับสูงใกล้เคียงตัวเลขสองหลัก ขณะที่ ความผันผวนของเศรษฐกิจในประเทศแถบตะวันตก
กระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียค่อนข้างจำกัด จึงทำให้นักวิเศราะห์ส่วน
ใหญ่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียน่าจะยังสามารถรักษาแรงส่งของการขยายตัวไว้ได้
อย่างต่อเนื่อง และมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกต่อไป
มองไปในระยะข้างหน้า คงต้องยอมรับว่า ความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีอยู่
อาจเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เงินทุนยังมีแนวโน้มไหลเข้าสูภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แม้
เงินทุนส่วนใหญ่ที่ไหลเข้ามาในไทย จะเน้นไปที่การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ (เห็นได้จากการ
เข้าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทยที่มีสูงถึงกว่า 5 หมื่นล้านบาทนับจากต้น
ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 8.5% เมื่อ
เทียบกับดอลลาร์ฯ โดยแข็งค่าเป็นอันดับ 3 ในเอเชีย แต่อานิสงส์จากกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายดัง
กล่าว คงมีส่วนเกื้อหนุนภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยด้วยเช่นกัน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมอง
ว่า ตลาดหุ้นไทย ซึ่งนักลงทุนมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของตลาดหุ้นเอเชีย ยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้น
ได้จากปัจจัยบวก ดังต่อไปนี้
อัตราส่วนมูลค่าของตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทย ในปัจจุบันยังต่ำ
กว่าจุดสูงสุดในอดีต อีกทั้งความสามารถในการทำกำไรก็มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น โดยพบว่า อัตรา
ส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (Price-to-Earnings Ratio: P/E) ของตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย
และตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันยังไม่ถือว่าเป็นระดับที่สูงที่สุด (โดยค่า P/E ของตลาดหุ้นไทยปัจจุบัน
อยู่ที่ 14 เท่า เทียบกับที่เคยอยู่ที่ 17 เท่าในปี 2551) ทั้งนี้ แม้ว่าค่า P/E ในปัจจุบันจะอยู่ใน
ระดับใกล้เคียงกับปี 2550 ซึ่งเป็นช่วงก่อนวิกฤตซับไพร์มก็ตาม แต่ก็ยังต่ำกว่าในช่วงปี 2552
ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ปัจจุบันอัตราส่วนกำไรต่อทุน (Return
on Equity: ROE) ของตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียและตลาดหุ้นไทยก็ฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ในระดับใกล้
เคียงกับในช่วงก่อนเกิดวิกฤต (โดย ROE ของตลาดหุ้นไทยปัจจุบันอยู่ที่ 18% เทียบกับ
ประมาณ 17-20% ในปี 2551) นั่นอาจเป็นนัยที่บ่งชี้ว่า ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียและตลาดหุ้น
ไทยยังคงมีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้อีก โดยเฉพาะหากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจยังคงอยู่
เกณฑ์ที่ดี ซึ่งจะมีผลในการสนับสนุนการฟื้นตัวของผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน
นักวิเคราะห์ในต่างประเทศยังมีมุมมองเชิงบวกต่อทิศทางตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึง
ตลาดหุ้นไทย โดยจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังมีแนวโน้มที่สดใสเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น
โดยเปรียบเทียบ ประกอบกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมที่ยังมีแนวโน้มแข็ง
แกร่ง และยังเป็นปัจจัยหนุนให้ดัชนีหุ้นส่วนใหญ่ในเอเชีย มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้อีก ส่งผลให้นัก
วิเคราะห์ส่วนใหญ่มีการปรับมุมมองต่อแนวโน้มตลาดหุ้นเอเชียรวมถึงดัชนี SET ของไทยเป็น
เชิงบวกมากขึ้น
สำหรับกรณีของประเทศไทยนั้น ยังมีปัจจัยทางด้านฤดูกาลที่จะสนับสนุนให้ดัชนีตลาด
หุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นได้ จากแรงซื้อหุ้นของนักลงทุนสถาบันที่ระดมเงินผ่านกองทุน
LTF/RMF ในช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงต้นปี นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเกิด January Effects
ท่ามกลางแรงซื้อหุ้นในประเทศแถบเอเชียของนักลงทุนต่างชาติที่น่าจะกลับเข้ามาในช่วงต้นปี
หลังการปิดงวดบัญชีในช่วงปลายปี
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการไหลเข้าของเงินทุนนั้นสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้อย่าง
รวดเร็ว หากมีตัวแปรต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและมีอิทธิพลในเชิง
จิตวิทยาต่อนักลงทุน ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงได้รวบรวมปัจจัยหลักๆ (Triggers) ที่นักลงทุน
ควรต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะอาจมีผลต่อสภาพคล่องที่ไหลเข้าสู่เอเชีย รวมถึงตลาดทุน
ไทย จนอาจทำให้ดัชนีตลาดหุ้นมีโอกาสปรับฐาน หรือเปลี่ยนทิศทางได้ ดังนี้
จับตา...แนวทางการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของทางการ
ในภูมิภาคเอเชีย สืบเนื่องจากการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของสกุลเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน
ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเป็นครั้งแรกใน
รอบ 6 ปี เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคการส่งออก ซึ่งเป็นองค์
ประกอบที่สำคัญทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น และรวมถึงประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ในขณะ
เดียวกัน แม้ว่าทางการของประเทศเอเชียอื่นๆ จะยังไม่ได้ดำเนินมาตรการเพื่อสกัดกั้นเงินทุน
เคลื่อนย้าย (Capital Control) และส่งสัญญาณเตือนที่ชัดเจนในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินของ
ตน ในลักษณะเดียวกันกับการดำเนินการของทางการญี่ปุ่น แต่ท่ามกลางกระแสเงินทุนที่ยังมีแนว
โน้มไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากการฟื้นตัวเศรษฐกิจแกนหลักของโลก
โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยังขาดทิศทางที่ชัดเจน ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทางการของประเทศในภูมิภาค
เอเชียรวมถึงไทย อาจมีความจำเป็นต้องตัดสินใจดำเนินมาตรการที่มีน้ำหนักมากขึ้นเพื่อชะลอ
การแข็งค่าที่เร็วเกินไปของสกุลเงินของตนที่อาจมีผลต่อขีดความสามารถของการแข่งขันของผู้
ส่งออกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยล่าสุด ธปท.ก็ได้ประกาศมาตรการสนับสนุนให้เงินทุนไหลออกไป
แสวงหาโอกาสในการลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น เพื่อถ่วงดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายและชะลอการ
แข็งค่าของเงินบาท
ดังนั้น คงต้องยอมรับว่า หากทางการในเอเชียยังมีแนวทางในการดำเนินการเพื่อ
รักษาสมดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายและค่าเงินของตน ก็อาจมีผลทางจิตวิทยาต่อมุมมองและความรู้สึก
ของนักลงทุนต่างประเทศในการนำเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะหาก
มาตรการดังกล่าว มีความถี่หรือความรุนแรงที่เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ ซึ่งท้ายที่สุด
ย่อมมีผลต่อกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ตลาดทุนไทยด้วยเช่นกัน
จับตา...ข้อมูลเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ จากความแตกต่างของการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจหลักในโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป ที่ยังอ่อนแอ จึงเป็นปัจจัยสำคัญ
ประการหนึ่งที่มีผลทำให้กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายออกจากสหรัฐฯ มาแสวงหาโอกาสการลงทุนที่
มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ แม้ว่ามองไปข้างหน้า นักวิเคราะห์ส่วน
ใหญ่จะรับรู้ถึงความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจของ 2 ภูมิภาคหลักดังกล่าว จะชะลอตัวลง แต่ประเด็น
ที่กำลังถูกตั้งคำถามในขณะนี้ คือ ระดับการชะลอตัว โดยเฉพาะของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ว่าจะถลำ
ลึกลงไปถึงขั้น “ภาวะถดถอยรอบสอง” (Double-Dip Recession) หรือเป็นการถดถอยที่ลาก
ยาวออกไป (Stagnation) หรือไม่ หลังจากที่ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งล่าสุดของ
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 21 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา เฟดได้ส่งสัญญาณการเตรียมพร้อม
สำหรับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเพิ่มเติม (Quantitative Easing: QE2) หากภาวะ
เศรษฐกิจชะลอตัวลงมากกว่าคาด นั่นหมายความว่า นอกจากนักลงทุนจะจับสัญญาณการ
ชะลอตัวจากเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะทยอยประกาศออกมาอย่างใกล้ชิดแล้ว นักลงทุนยัง
อาจปรับน้ำหนักมาถือครองสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ฯ หรือสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงอื่นๆ
เพิ่มขึ้น ในกรณีที่ปรากฏว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจต่างๆ ดังกล่าว ตอกย้ำถึงโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจ
ถดถอยมากขึ้นจริง ซึ่งอาจเพิ่มความกังวลให้กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชียและไทยที่ยังพึ่ง
พาการส่งออกไปตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ตลาดทุนใน
แถบภูมิภาคเอเชีย รวมถึงไทยก็อาจก้าวเข้าสู่จังหวะการปรับฐานอย่างยากจะหลีกเลี่ยง
ในขณะเดียวกัน การปรับฐานในตลาดทุนดังกล่าว ก็อาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน หากเครื่องชี้
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะทยอยประกาศออกมา สะท้อนถึงสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีเกินความคาดหมาย
ของนักวิเคราะห์ เพียงแต่การปรับฐานในกรณีหลังนี้ น่าจะเกิดขึ้นในขอบเขตที่จำกัดและกินเวลา
น้อยกว่าในกรณีแรก
จับตา...ประเด็นการเมืองในประเทศที่อาจมีผลกับเสถียรภาพของรัฐบาล รวมถึง
เศรษฐกิจไทยในภาพรวม มองไปข้างหน้า แม้ว่าความไม่สงบทางการเมืองจะลดระดับลงอย่างมี
นัยสำคัญ แต่ประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองและในเชิงนโยบายการบริหารประเทศที่ยังคงมี
อยู่ อาจมีผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งนับว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนต่างชาติให้น้ำหนัก
เห็นได้จากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติที่ลดลงมากในช่วงที่ประเทศไทยมีเหตุการณ์ความ
ไม่สงบทางการเมืองระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ก็ยังมีประเด็นคำถามที่ยังอยู่
ในความสนใจของนักลงทุนด้วย อาทิ จังหวะเวลาของการจัดการเลือกตั้งทั่วไป ฉะนั้น หากมีการ
เปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังจากนี้ ก็อาจมีผลต่อความเชื่อมั่นและบรรยากาศการลงทุนในตลาด
หุ้นไทยไม่มากก็น้อย
จากทิศทางของตลาดหุ้นไทยที่แม้จะยังปรับตัวขึ้นได้ แต่ก็เผชิญโอกาสการปรับฐาน
และความผันผวนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังตัว
แปร หรือภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ
ค่าเงินบาทอาจมีความผันผวนมากขึ้น หรือแม้กระทั่งอ่อนค่าลง สอดคล้องกับจังหวะ
การปรับฐานของตลาดทุนไทย ซึ่งแม้อาจส่งผลดีต่อผู้ส่งออก แต่ก็อาจไม่เป็นผลดีกับผู้นำเข้า
ขณะเดียวกัน ก็อาจเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศ ทั้งนี้ ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อดังกล่าว
ผนวกกับ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังอยู่ภาวะชะลอตัว
นั้น อาจย้อนกลับมาสร้างความซับซ้อนให้กับการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.มากขึ้น
การระดมทุนของภาคธุรกิจในตลาดหุ้นไทย ท่ามกลางการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาด
หุ้นที่เส้นทางการปรับขึ้น อาจเผชิญความท้าทายมากขึ้นหลังจากช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า ตาม
ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลก ที่อาจเพิ่มขึ้นนั้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อ
แผนการระดมทุนและเพิ่มทุนในตลาดหุ้นของภาคธุรกิจ ตลอดจนเป้าหมายของตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในการผลักดันให้มีบริษัทเอกชนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย
เพิ่มขึ้น รวมถึงแนวทางการเพิ่มบทบาทของตลาดทุนไทยในระบบเศรษฐกิจด้วย อย่างไรก็
ตาม จากภาพความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นในระยะปานกลาง ผนวกกับ การปรับขึ้นของดัชนีตลาดหุ้น
ไทยในระยะที่ผ่านมา รวมถึงโอกาสที่ดัชนียังอาจคงทิศทางขาขึ้นได้ในระยะสั้นดังกล่าว คาดว่า
อาจกระตุ้นให้บริษัทเอกชนบางแห่งที่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจน เร่งระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
เพื่ออาศัยประโยชน์จากบรรยากาศการระดมทุนที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี อันจะช่วยหนุนความสำเร็จ
จากการระดมทุนทั้งในเชิงปริมาณและราคา
โดยสรุป ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นไปได้อีก
โดยบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย ประเมินว่า มีโอกาสที่ดัชนี SET อาจขยับขึ้นแตะระดับ 1,000
ภายในต้นปี 2554 อันเป็นผลจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และแรงหนุน
จากกระแสเงินทุนไหลเข้า รวมทั้งยังมีปัจจัยด้านฤดูกาลจากการซื้อหุ้นของนักลงทุนสถาบันใน
ประเทศที่ระดมเงินผ่านกองทุน LTF/RMF ช่วยหนุน นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบอัตราส่วน
มูลค่าตลาด พบว่า ณ ปัจจุบัน อัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นยังอยู่ต่ำกว่าระดับสูงสุดในอดีต
อีกทั้งความสามารถในการทำกำไรก็ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น สอดคล้องกับการที่นักวิเคราะห์ส่วน
ใหญ่ปรับมุมมองดีขึ้นต่อตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางโอกาสการปรับขึ้นของตลาดหุ้นไทยดังกล่าว คงต้องยอมรับ
ว่าทิศทางดังกล่าวมักจะมาควบคู่กันกับโอกาสของการปรับฐานที่มีเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น นัก
ลงทุนจึงคงจะยังต้องจับตาประเด็นที่เป็นความเสี่ยงอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การดูแล
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของทางการในภูมิภาคเอเชีย การคาดการณ์ถึง
จังหวะการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตลอดจนประเด็นการเมืองในประเทศที่อาจมี
ผลกับเสถียรภาพของรัฐบาลและของเศรษฐกิจไทยในภาพรวม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อมุมมอง
และความรู้สึกของนักลงทุนต่างประเทศในการนำเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชีย และอาจ
ก่อให้เกิดการปรับฐานของตลาดทุนไทยได้ โดยผลกระทบที่ตามมาจากสถานการณ์การปรับ
ฐานของหุ้นไทยดังกล่าว นอกจากอาจสร้างความผันผวนให้กับทิศทางค่าเงินบาทแล้ว ก็ยังอาจส่ง
ผลกระทบต่อจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการระดมทุนและเพิ่มทุนของบริษัทเอกชนไทยด้วย




ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วันที่ 24/09/10 เวลา 15:18:58

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น