วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

5 มาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออก...

5 มาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออก...ยังคงไม่เปลี่ยนโจทย์เงินบาทแข็งค่า


บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานเรื่อง 5 มาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหล
ออก...ยังคงไม่เปลี่ยนโจทย์เงินบาทแข็งค่า โดยระบุว่า หลังจากที่มีการหารือกับ
ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2553 ที่ผ่านมานั้น รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการคลังได้ระบุในเอกสารเผยแพร่ลงวันที่ 23 กันยายน 2553 ว่า
กระทรวงการคลังจะออกประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่บุคคล
รับอนญาต (ฉบับที่ 8) และประกาศกระทรวงการคลังเรื่องการควบคุมการแลกเปลี่ยน
เงิน (ฉบับที่ 4) เกี่ยวกับการดำเนินมาตรการผ่อนคลายระเบียบควบคุมการแลก
เปลี่ยนเงินเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้นิติบุคคลและบุคคลไทยสามารถนำเงินไปลงทุน
ในต่างประเทศได้มากขึ้น ทั้งนี้ สาระสำคัญสามารถสรุปออกเป็น 5 มาตรการหลัก ซึ่ง
รายละเอียดมีความสอดคล้องกับกระแสข่าวที่ออกมาในช่วงก่อนหน้านี้ โดยศูนย์วิจัย
กสิกรไทย มีมุมมองต่อประเด็นนี้ ดังนี้:-

สาระสำคัญของ 5 มาตรการบรรเทาเงินบาทแข็งค่า
มาตรการ เกณฑ์ใหม่ เกณฑ์เดิม
การซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ* เพิ่มวงเงินเป็น 10 ล้านดอลลาร์ฯ /
ราย / ปี จำกัดวงเงินที่ 5 ล้านดอลลาร์ฯ / ราย / ปี
ยอดคงค้างบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศแบบไม่มีภาระผูกพัน
(ที่เกิดจากการนำเงินบาทแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราต่างประเทศ)* เพิ่มยอดคงค้าง
เป็น 5 แสนดอลลาร์ฯ สำหรับทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล จำกัดยอดคง
ค้างไว้ที่ 1 แสนดอลลาร์ฯ สำหรับบุคคลธรรมดา และ 3 แสนดอลลาร์ฯ สำหรับ
นิติบุคคล
อนุญาตให้นิติบุคคลไทยปล่อยกู้แก่บริษัทในต่างประเทศที่ไม่ใช่กิจการในเครือ*
ปล่อยกู้ได้รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์ฯ ต่อปีโดยไม่ต้องขออนุญาต
ต้องขออนุญาตเป็นรายกรณี
ผ่อนคลายให้นิติบุคคลลงทุน หรือให้กู้ยืมแก่กิจการในเครือ* นิติบุคคลใน
ประเทศสามารถลงทุนโดยตรง และ/หรือให้กู้ยืมแก่กิจการในเครือในต่างประเทศไม่
จำกัดวงเงิน (ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยน
เงินกำหนด) - บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนได้ไม่จำกัด
จำนวน แต่ให้กู้ยืมได้ไม่เกิน 200 ล้านดอลลาร์ฯ /ปี
- บริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ลงทุน/ให้กู้ยืมได้ไม่เกิน 200 ล้านดอลลาร์ฯ /ปี
ขยายวงเงินค่าสินค้าส่งออกที่ไม่ต้องนำส่งกลับประเทศ เพิ่มวงเงินเป็น 50,000
ดอลลาร์ฯ จำกัดวงเงินที่ 20,000 ดอลลาร์ฯ
ที่มา: รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย หมายเหตุ: มาตรการต่อเนื่องที่ธปท.เสนอ
ไว้เดิมตั้งแต่เดือน 1 กุมภาพันธ์ 2553

มุมมองศูนย์วิจัยกสิกรไทย
การผ่อนคลายหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินของ
ทางการไทยในครั้งนี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีความกังวลว่า กระแสการไหลเข้าของเม็ด
เงินลงทุนสู่ตลาดการเงินไทย (ทั้งตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) อาจทำให้มีแรงขาย
เงินตราต่างประเทศมากกว่าความต้องการซื้อเงินตราต่างประเทศ ซึ่งย่อมหนุนให้เงิน
บาทปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้น โดยเงินทุนไหลเข้าดังกล่าว นับเป็นหนึ่งในปัจจัย
สำคัญ ร่วมกับปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ ที่สนับสนุนการแข็งค่าของเงินบาท (อาทิ การเกินดุล
บัญชีเดินสะพัด และความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยโดยเปรียบเทียบ) ที่หนุนให้
เงินบาททะยานทุบสถิติแข็งค่าสุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 (แข็งค่าสุดในรอบ
13 ปี) ใกล้ระดับ 30.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะขยับอ่อนค่าเล็กน้อยมายืนที่ระดับ
30.67 บาทต่อดอลลาร์ฯ ณ ขณะนี้ (บ่ายวันที่ 23 กันยายน 2553) ทั้งนี้ ศูนย์วิจัย
กสิกรไทย มองว่า ...
ตลาดการเงินและนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ได้ปรับตัวรับรู้รายละเอียดของ
5 มาตรการนี้ไปมากแล้ว ขณะที่ เนื้อหาของบางมาตรการเป็นส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ
มาตรการที่ธปท.ได้เสนอไปยังกระทรวงการคลังแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2553
ที่ผ่านมา
5 มาตรการที่ได้รับการผ่อนคลาย น่าที่จะเป็นมาตรการที่มุ่งวัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มสมดุลให้กับกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ และเอื้อประโยชน์
เพิ่มความคล่องตัวและความยืดหยุ่น ให้แก่ภาคเอกชนในการทำธุรกิจมากขึ้น
แต่อาจจะไม่ใช่มาตรการที่มีเป้าหมายมุ่งเน้นสกัดการแข็งค่าของเงินบาท
แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทยังไม่เปลี่ยนแปลงหากสภาพแวดล้อมทาง
เศรษฐกิจและการเงินของไทยและต่างประเทศไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัย
สำคัญในระยะใกล้ๆ นี้ โดยหากเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีขยายตัวในอัตรา
ที่ชะลอลงตามคาด และไม่มีเหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง ขณะที่ ตลาดการเงินโลก
น่าที่จะยังให้น้ำหนักกับความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในช่วงขาลงของเศรษฐกิจแกน
หลักของโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น เช่นเดิม (แต่โอกาสของการเกิด
Double Dip Recession ยังอยู่ในระดับต่ำ)
ซึ่งภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวนี้ อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ฯ ยังคงมีโอกาสได้
รับแรงกดดันให้อ่อนค่าลงได้อีกในระยะข้างหน้าจากการคาดการณ์เกี่ยวกับมาตรการ
ผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ รอบใหม่ (Quantitative Easing รอบ
2) ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในปี 2553 นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากแรงส่งต่อแนวโน้มการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แผ่วลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายเดือนข้าง
หน้า โดยเครือธนาคารกสิกรไทย มองว่า เงินบาทอาจแข็งค่าไปที่ระดับ 30.20 บาท
ต่อดอลลาร์ฯ ภายในสิ้นปี 2553 นี้ และมีโอกาสขยับแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องไปที่ระดับ
29.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในปี 2554
ดังนั้นคงต้องติดตามพัฒนาการของเครื่องชี้เศรษฐกิจโลกต่อไปอย่างใกล้ชิด
เพราะทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เปราะบางดังกล่าว อาจเป็นตัวสะท้อนว่า กระแสเงินทุน
เคลื่อนย้ายเข้าสู่ภูมิภาคเอเชีย (ซึ่งเป็นแหล่งลงทุนหนึ่งที่ให้อัตราผลตอบแทนจาก
การลงทุนที่สูงกว่าโดยเปรียบเทียบ) จะมีความต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนข้างหน้า
หรือไม่ นอกจากนี้ คงต้องจับตามาตรการชะลอการแข็งค่าของเงินบาทในส่วนที่
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำมาใช้เพิ่มเติม (ตามรายงานข่าวจะเป็นเรื่องการผ่อน
ปรนให้ผู้ประกอบการกลุ่มเดินเรือสามารถชำระค่าระวางเป็นเงินสกุลต่างประเทศได้
จากเดิมที่ต้องชำระเป็นเงินบาท) ซึ่งก็อาจรวมไปถึงการปรับปรุงมาตรการป้องปราม
การเก็งกำไรเงินบาทในรูปแบบอื่นๆ หากอัตราการแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปอย่าง
รวดเร็วและสะท้อนความเสี่ยงของการลงทุนที่มีลักษณะเพื่อการเก็งกำไร





ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วันที่ 23/09/10 เวลา 17:43:03

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น