วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

เล่นหุ้นแบงก์ดีกว่า

กูรู ประสานเสียงเชียร์หุ้นกลุ่มแบงก์สุดแจ่ม รับสินเชื่อพุ่ง คาดปีนี้ยอดปล่อยสินเชื่อทั้ง
ระบบโต 7.8% มองปีหน้าดีกว่าคาด ชู KBANK, BBL และ SCB เป็น top picks ของกลุ่ม ดีบี
เอสวิคเคอร์ส ชอบ KBANK หลังมอง คุณภาพสินทรัพย์ดี, NPL ratio ต่ำสุดในกลุ่ม และรายได้
ค่าธรรมเนียมขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับกลุ่ม กิมเอ็ง ปรับคาดการณ์กำไร BBL ปี53 เพิ่มเป็น
2.43 หมื่นลบ.ให้มูลค่าเหมาะสมใหม่ที่ 179 บาท ชี้ได้เปรียบสุดในการปล่อยสินเชื่อ เอเซียพลัส
คาด SCB กำไร 3Q53 โตถึง 28.2% สูงสุดรายไตรมาสรอบ 7 ปี แนะนำซื้อ Fair value 120
บาท
หุ้นกลุ่มแบงก์ราศีจับ รับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อสุดสดใสถึงปี
หน้า แถมดอกเบี้ยยังเป็นขาขึ้น ส่งผลให้ผลประกอบการแจ่ม ดังนั้น หุ้นกลุ่มธนาคาร จึงเป็นที่น่า
สนใจเข้าลงทุนเป็นอย่างยิ่ง

เซียนหุ้น คาดยอดการปล่อยสินเชื่อขยายตัว 7.8% คาดมอง ผลงามแจ่ม

นายธนัท รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา กล่าว
ว่า จากการประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในปีนี้ คาดว่ายอดการ
ปล่อยสินเชื่อจะขยายตัว 7.8% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยในช่วงครึ่งปีหลังยอดการ
ปล่อยสินเชื่อจะขยายตัวอยู่ในดับเดียวกับช่วงครึ่งปีแรกประมาณ 4-5% จากการปล่อยสินเชื่อให้
กับลูกค้าขนาดใหญ่ และในส่วน SME หลังจากได้รับรายได้จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่ขยับ
ตัวดีขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาภาคเอกชนจะมีการเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ชะลอการ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย แต่เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในช่วงขาขึ้นโดยการปรับขึ้นคงจะเป็นอัตรา
ที่ไม่มากนัก ซึ่งกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะได้รับประโยชน์จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ประเมินว่า
ธนาคารจะยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก่อนจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพราะจะเป็นการระดม
ทุนของธนาคารเพื่อเพิ่มสภาพคล่องก่อนจะเริ่มปล่อยสินเชื่อเเบบเต็มที่ในช่วงปีหน้า หลังจาก
เศรษฐกิจฟื้นตัว ทำให้ยอดการปล่อยสินเชื่อขยายตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังประเมินแนวโน้มผลประกอบการของแต่ละธนาคาร ซึ่งเชื่อ
ว่าธนาคารบางแห่งจะมีการปรับเพิ่มกำไรขึ้นจากเดิม อาทิ BBL- KBANK -SCB ทำให้จะต้อง
ปรับเพิ่มราคาพื้นฐานขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น โดยก่อนหน้านี้ได้ปรับราคา
พื้นฐาน BBL ไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นก็เหลือKBANK และ SCB ที่ยังคงต้องพิจารณาต่อไป ทั้ง
นี้ ยังมองว่าหุ้นกลุ่มธนาคารยังน่าสนใจเข้าลงทุนจากแนวโน้มผลประกอบการที่ดี โดยล่าสุดราคา
พื้นฐานปีนี้ของหุ้น BBL อยู่ที่ 180 บาท SCB อยู่ที่ 113 บาท และKBANK อยู่ที่ 126 บาท
สำหรับกรณีภายหลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นให้
ระงับการประมูลใบอนุญาต 3Gนั้น ทำให้ธนาคารเสียโอกาสจากการปล่อยสินเชื่อในระยะนี้เท่า
นั้น แต่เชื่อว่าหาก 3G เกิดขึ้นก็จะส่งผลดีต่อยอดการปล่อยสินเชื่อธนาคารอย่างแน่นอน

กูรู แนะ Bullish หุ้นแบงก์ หลังสินเชื่อโตต่อเนื่อง-คาดปีหน้าดีกว่าคาด ส่งสัญญาณเพิ่ม
ประมาณกำไร-ราคาเป้าหมาย ชู KBANK, BBL และ SCB เป็น top picks ของกลุ่ม

บทวิเคราะห์ บล.พัฒนสิน ระบุว่า สินเชื่อกลุ่มธนาคาร ในเดือน ส.ค. 10 เติบโต 0.8%
m-m: กลุ่มธนาคารที่เราศึกษารายงานสินเชื่อเดือน ส.ค. ดีขึ้น m-m ตามคาด โดยเติบโตใน
อัตรา 0.8% หลักๆ ผลักดันจากสินเชื่อภาคธุรกิจรายใหญ่และ SME ที่กลับฟื้นตัวขึ้น ในขณะที่
สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ยังคงเติบโตต่อเนื่องและดีกว่าที่เราคาด โดยSCB และ KTB แสดงการเติบ
โตของสินเชื่อที่โดดเด่นสุดในกลุ่มแบงก์ใหญ่ ขณะที่ TISCO เติบโตโดดเด่นสุดในกลุ่มแบงก์
เล็ก หลักๆผลักดันจากจากสินเชื่อรายใหญ่ของ TISCO ที่มีการเบิกจ่ายสินเชื่อในเดือน ส.ค. 10
ในทางกลับกันมีเพียง BAY และ BBL ที่สินเชื่อปรับลดลง m-m หลักๆ เกิดจากการชำระคืนหนี้
ของลูกหนี้ธุรกิจรายใหญ่บางราย อย่างไรก็ดี เราคาดว่าสินเชื่อของทั้ง 2 ธนาคาร จะกลับมาเติบ
โตสูงในช่วงปลายปี โดยเฉพาะ BBL ที่เราคาดว่าจะเติบโตได้ตามประมาณการของเราได้โดย
ไม่น่ากังวล
สินเชื่อทั้งปี 2010F มีแนวโน้มดีกว่าที่คาด สินเชื่อของกลุ่มธนาคารในงวด 8M10
เติบโต 3.3% YTD ขณะที่ การเติบโตของสินเชื่อในช่วงที่เหลือของปี โดยเฉพาะในเดือน ธ.ค.
คาดว่าจะเติบโตในอัตราที่เร่งตัวสูงขึ้น ผลักดันจาก 1) ปัจจัยตามฤดูกาลที่สินเชื่อจะเติบโตสูงใน
ช่วงปลายปีโดยเฉพาะสินเชื่อ SME ในกลุ่มเกษตรและส่งออก รวมถึงสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์; 2)
ความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจรายใหญ่และ SME เพื่อขยายกิจการที่แสดงการฟื้นตัวที่
ชัดเจนขึ้น ส่วนหนึ่งจากผลบวกของโครงการในมาบตาพุดที่โครงการส่วนใหญ่ดำเนินการต่อได้;
และ 3) ความต้องการสินเชื่อของบริษัทขนาดใหญ่เพื่อการลงทุนและซื้อกิจการ อาทิ
BANPU,TUF และ SSI เป็นต้น ปัจจัยบวกดังกล่าวคาดว่าจะทำให้สินเชื่อปี 2010-12F ของ
กลุ่มฯมีแนวโน้มที่จะเติบโตดีกว่าที่เราคาดที่ +8%, +10% และ +12% ตามลำดับ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในปี 2010F ซึ่งเป็นสัญญาณบวกที่เป็น upside ต่อการปรับเพิ่มประมาณการกำไรและ
ราคาเป้าหมายของกลุ่มธนาคาร
คงมุมมอง Bullish และแนะนำ KBANK, BBL และ SCB เป็นหุ้น top picks ใน
กลุ่มฯ:เรายังคงมุมมองที่ชอบหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ในระยะยาว โดยเฉพาะหุ้น top picks ของ
เราคือ KBANK (TP THB133),BBL (TP THB190) และ SCB (TP THB119) เนื่องจาก
คาดว่าธนาคารดังกล่าวจะได้รับผลบวกสูงสุดในกลุ่มฯในภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวและวัฏจักรดอกเบี้ย
ขาขึ้นKTB (แนะนำ BUY ราคาเหมาะสมปี 2011F 16 บาท) ประกาศสินเชื่อเดือน ส.ค. 10
เติบโต 1.4% m-m และคิดเป็นเติบโตถึง 9.5% YTD ในงวด 8M10 ซึ่งถือว่าดีกว่าที่เราคาด
และน่าจะเป็น positive surprise ต่อตลาดเช่นกัน ซึ่งเป็นสัญญาณชี้นำที่ดีต่อการเติบโตของสิน
เชื่อและกำไรสุทธิของ KTB ที่มีแนวโน้มดีกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ในขณะที่ ประเด็นการขาย
หุ้น “นกแอร์” เราคาดว่าไม่มีนัยสำคัญต่อกำไรและราคาเป้าหมาย (TP) ของ KTB โดยเรายังคง
แนะนำ BUY หุ้น KTB เนื่องจากอาจมี upside potential ต่อ TP ปี 2011F ที่เราประเมินไว้
ที่ 16 บาท/หุ้นหลักๆ ผลักดันจากการเติบโตของสินเชื่อที่มีแนวโน้มดีกว่าที่เราคาด นอกจากนี้
KTB มีประเด็นที่อาจเป็น pricecatalyst ต่อราคาหุ้นในระยะกลาง จากประเด็นที่กระทรวงการ
คลังอาจพิจารณาให้ศึกษาแนวทาง รวมถึงผลดีผลเสีย ในการขายหุ้น KTB ออกไป
ประเด็นที่คลัง อาจพิจารณาลดสัดส่วนการถือหุ้นใน KTB อาจเป็น price catalyst
ต่อ KTB ในระยะกลาง: แม้ว่านโยบายเดิมของกระทรวงการคลังจะยังคงต้องการถือหุ้น KTB ไม่
ต่ำกว่า 51% เพื่อคงให้ KTB เป็นธนาคารกลไกลหลักของรัฐบาลที่ใช้ผลักดันเศรษฐกิจของ
ประเทศ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่คลังอาจให้มีการทำการศึกษาถึงแนวทาง รวมถึง ผลดีผลเสียใน
การขายหุ้นใน KTB ออกไปทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งประเด็นดังกล่าว แม้ว่าจะยังไม่มีความ
ชัดเจน แต่ก็อาจเป็นประเด็นที่เป็น price catalyst ต่อราคาหุ้น KTB ในระยะกลาง ทั้งนี้ หาก
พิจารณาจากราคาที่มีการซื้อกิจการในหุ้นธนาคารพาณิชย์ไทยในกรอบ P/BV ที่ 1.2-1.6 เท่า
ราคาขายอาจอยู่ในกรอบ 13.0-17.2 บาท/หุ้น หากมีการขายหุ้น KTB เกิดขึ้นจริง (อิงจากมูลค่า
ทางบัญชีสิ้นปี 2010F ของ KTB ที่ 10.74 บาท/หุ้น) โดยเรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ” KTB เนื่อง
จากอาจมีupside potential ต่อราคาเป้าหมาย (TP) ปี 2011F ที่เราประเมินไว้ที่ 16 บาท/หุ้น
หลักๆ จากการเติบโตของสินเชื่อและกำไรที่มีแนวโน้มดีกว่าที่เราคาด

ดีบีเอสวิคเคอร์ส ชอบ KBANK หลังมอง คุณภาพสินทรัพย์ดี, NPL ratio ต่ำสุดในกลุ่ม และ
รายได้ค่าธรรมเนียมขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับกลุ่ม

บทวิเคราะห์ บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส ระบุว่า สินเชื่อเดือนส.ค. 53 ขยายตัว 0.8%MoM
(+7.8%YoY) เป็นไปตามคาด โดยการเติบโตหลักมาจากสินเชื่อ Corporate, สินเชื่อที่เกี่ยว
ข้องกับโครงการรัฐ และสินเชื่อ SMEs ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ที่มีการเติบโตของสินเชื่อโดดเด่น
ในเดือนส.ค. 53 คือ SCB (+1.5%MoM และ +9.3%YoY) เพราะสินเชื่อ Corporate ราย
ใหญ่ขยายตัวดีขึ้น และตามมาด้วย KTB (+1.4%MoM และ +9.0%YoY) ซึ่งสินเชื่อที่เกี่ยวข้อง
กับโครงการรัฐเติบโตแข็งแกร่ง, KBANK (+0.9%MoM และ +11.6%YoY) โดยหลักเป็นการ
เพิ่มขึ้นของสินเชื่อ SMEs และรายย่อย ส่วน BBL สินเชื่อเดือนส.ค.หดตัว 0.4%MoM (+3.3%
YoY) เนื่องจากมีการชำระคืนนี้ที่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่ม Corporate ส่วนแบงก์เล็ก
ยังมีการเติบโตของสินเชื่อเช่าซื้อแข็งแกร่งทั้ง TISCO (+3.3%MoM และ +26.1%YoY)
และ KK (+2.7%MoM และ +17.3%YoY)
สินเชื่อและกำไรสุทธิขยายตัวแข็งแกร่ง สำหรับทั้งปี 53 ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ DBSV
ประเมินว่าสินเชื่อของกลุ่มแบงก์จะขยายตัว 7.3% และเติบโตต่อเนื่อง 7.5% ในปี 54 ซึ่งเป็นไป
ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่ง ทำให้ความต้องการใช้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุน
หมุนเวียนและเพื่อการลงทุนของกลุ่ม SMEs เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ของ DBS Bank
คาดการณ์ว่า GDPของไทยในปี 53-54 จะเติบโต 9% และ 4% ตามลำดับ สำหรับกำไรสุทธิ
เราประมาณการว่ากลุ่มธนาคารพาณิชย์จะมีการเติบโตของกำไรสุทธิปี 54 เท่ากับ 15.0% โดย
มีสมมติฐานการขยายตัวของสินเชื่อ 7.5%, ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.06%, รายได้ค่า
ธรรมเนียมเติบโต 11% และการตั้งสำรองค่าเผื่อฯ เท่ากับ 0.72% ของสินเชื่อรวม
เรามีมุมมองที่เป็นบวกกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยแนะนำซื้อและให้ BBL,
KBANK และ KTB เป็นหุ้น Top Picks เราชอบ KBANK เนื่องจากมีคุณภาพสินทรัพย์ดี, NPL
ratio ต่ำที่สุดในกลุ่ม และรายได้ค่าธรรมเนียมขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับกลุ่ม สำหรับ BBL มีจุด
เด่นเรื่องงบดุลแข็งแกร่ง และมีสำรองสะสมต่อ NPL (NPL Coverage Ratio) สูงมาก ด้าน
KTB คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 และการใช้จ่าย & ลงทุนของ
ภาครัฐ เราเชื่อว่า KBANK และ BBL จะได้รับประโยชน์จากความต้องการใช้สินเชื่อของกลุ่ม
Corporate และ SMEs ที่เพิ่มขึ้นในปี 53 นอกจากนั้นยังแนะนำซื้อ SCB รวมทั้งแนะนำถือ
BAY, TCAP และ TISCO

บล.กิมเอ็ง ปรับคาดการณ์กำไร BBL ปี53 เพิ่มเป็น 2.43 หมื่นลบ.ให้มูลค่าเหมาะสมใหม่
ที่ 179 บาท ชี้ได้เปรียบสุดในการปล่อยสินเชื่อ

บทวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง ระบุว่า รายได้หลักยังเติบโตแม้กำไรสุทธิลดลง qoq เพราะ
ไม่มีรายได้พิเศษ ประเมินกำไรสุทธิไตรมาส 3/53 ไว้ที่ 5,669 ล้านบาท ลดลง 17.0%qoq
เนื่องจากไตรมาสก่อนมีกำไรพิเศษจากเงินลงทุนกว่า 2 พันล้านบาท แต่หากพิจารณาเฉพาะราย
ได้หลักยังคงเติบโตต่อเนื่อง หากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
11.8% จากรายได้ที่เติบโตต่อเนื่องประกอบกับค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯที่ลดลงตาม คุณภาพ
สินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น ทางด้านสินเชื่อไตรมาส 3/53 ทรงตัวจากไตรมาสก่อน แต่คาดจะเติบโต
สูงในไตรมาส 4/53 โดยทางธนาคารยังคงมั่นใจกับเป้าหมายสินเชื่อที่ 6% เราปรับประมาณการ
กำไรสุทธิปี 53 เพิ่มขึ้น จากกำไรจากเงินลงทุนและกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่สูง ในขณะที่
แรงกดดันในการตั้งสำรองฯลดลง คงคำแนะนำ 'ซื้อ' จากโอกาสเติบโตของสินเชื่อที่สูงในไตร
มาส 4/53 ประกอบกับงบดุลที่แข็งแกร่ง มูลค่าที่เหมาะสมใหม่อยู่ที่ 179.00 บาท/หุ้น
เราประเมินกำไรสุทธิไตรมาส 3/53 ไว้ที่ 5,669 ล้านบาท ลดลง 17.0% จากไตรมาส
ก่อน สาเหตุหลักมาจากไตรมาสก่อนมีกำไรพิเศษจากการขายหุ้น ACL กว่า 2 พันล้านบาท แต่
หากพิจารณาเฉพาะธุรกิจหลัก พบว่ารายได้หลักยังคงเติบโต qoq ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการตั้ง
สำรองฯมีแนวโน้มลดลงจากคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี ขึ้น หากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี
ก่อนกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 11.8% yoy จากรายได้หลักที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯที่ลด
ลง
เราคาดสินเชื่อไตรมาส 3/53 ขยายตัวเพียงเล็กน้อย 0.2%qoq ส่งผลให้สินเชื่อ 9
เดือนขยายตัว 2.76% จากสิ้นปีก่อน เราประเมินสินเชื่อจะขยายตัวได้สูงในไตรมาส 4/53 โดยได้
รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากความต้องการเงินทุนหมุนเวียน การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะกลุ่ม
อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร และโครงการภาครัฐ BBL ในฐานะธนาคาร
ขนาดใหญ่ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านสภาพคล่องสูง สาขาต่างประเทศ ฐานะเงินกองทุนแข็ง
แกร่งและมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจ ย่อมเป็นหนึ่งในธนาคารที่จะได้รับประโยชน์จากการ
ฟื้นตัวของภาคการลงทุนดัง กล่าว โดยมีโอกาสสูงที่จะได้ร่วมปล่อยกู้ให้แก่โครงการลงทุนขนาด
ใหญ่ทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน ซึ่งทางธนาคารยังคงมั่นใจกับเป้าหมายสินเชื่อปีนี้ที่ 6% ในขณะ
ที่เป้าหมายสินเชื่อปีนี้ของเราอยู่ที่ 5.5% ทางด้าน NIM ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียง 3.0%
เราปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 53 เพิ่มขึ้นเป็น 24,321 ล้านบาท จากกำไรจากเงิน
ลงทุนและกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่สูงในปีนี้ ประกอบกับคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี โดยสิ้นไตร
มาส 2/53 มี NPL Ratio เพียง 4.07% ในขณะที่มี Coverage ratio สูง 127.9% พร้อมปรับ
ประมาณการกำไรสุทธิปี 54 เพิ่มขึ้นเป็น 25,692 ล้านบาท จากการปรับลดค่าใช้จ่ายในการตั้ง
สำรอง ส่งผลให้มูลค่าที่เหมาะสมปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 171 บาท/หุ้น เป็น 179 บาท/หุ้น อ้างอิงกับ
1.5 เท่าของมูลค่าทางบัญชีปี 54
BBL อยู่ในสถานะที่ได้เปรียบในการปล่อยสินเชื่อในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเรามองว่า
การลงทุนภาคเอกชนจะเริ่มฟื้นตัว เนื่องจากมีสภาพคล่องสูง มีสาขาต่างประเทศ และมีฐานลูกค้า
ที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังมีงบดุลที่มีเสถียรภาพสูง ทั้งทางด้านฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่งและ
คุณภาพสินทรัพย์ที่ดี ดังนี้เราคงคำแนะนำ 'ซื้อ' ด้วยมูลค่าที่เหมาะสมใหม่ที่ 179.00 บาท/หุ้น

บล.ซิกโก้ เชียร์ซื้อ BBL ชี้ ฐานะการเงินแข็งแกร่ง ให้ราคาเหมาะสมเท่ากับ 172.00 บาท


บทวิเคราะห์ บล.ซิกโก้ ระบุว่า คาดผลการดำเนินงานของ BBL ในช่วง 3Q10E ยัง
ไม่มีความโดดเด่นมาก นักโดยเราคาดกำไรสุทธิเท่ากับ 5,808 ลบ. โดยสาเหตุมาจากรายได้
ดอกเบี้ยที่คาดว่าจะลดลง 5.7% QoQ เนื่องจากอัตราการปล่อยสินเชื่อที่ลดลงตอดต่อกัน 2
เดือน นอกจากนี้ใน 3Q10E BBL ไม่มีการรับรู้รายได้จากการขายหุ้น ACL ส่งผลให้เราคาด
กำไรสุทธิใน 3Q10E ลดลง 14.9% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 14.6% YoY
สินเชื่อของ BBL ล่าสุดในเดือน ส.ค. 53 ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากการ
ปล่อยสินเชื่อในช่วงที่ผ่านมาเป็นการปล่อยสินเชื่อประเภทเงินหมุนเวียนเป็นหลัก ซึ่งช่วงที่ผ่านมา
มีการจ่ายคืนเงินต้นให้กับธนาคาร อย่างไรก็ตามเราคาดว่าอัตราการปล่อยสินเชื่อจะเพิ่มมากขึ้น
ในช่วง 4Q10E เนื่องจากเป็น High Season ของหลายอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นไปตามการเติบโต
ของ GDP ทั้งนี้ BBL ยังคงเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อไว้ที่ 6% YoY ซึ่งอาจมีการปรับ
ประมาณการอีกครั้ง
มองว่า BBL เป็นธนาคารที่มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ขณะที่มีการเติบโตที่ค่อน
ข้างตามภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของ BBL เป็นกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม
SSEC คาดว่าในช่วง 4Q10E – FY11E เราจะเห็นการลงทุนใหม่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก
อุตสาหกรรมต่างๆเริ่มมีการขยายตัวซึ่งจะส่งผลบวกต่อ BBL เราจึงแนะนำ “ซื้อ” โดยให้มูลค่า
เหมาะสมใน FY11E เท่ากับ 172.00 บาท

บล.เอเซียพลัส คาด SCB กำไร 3Q53 โตถึง 28.2% สูงสุดรายไตรมาสรอบ 7 ปี แนะนำ
ซื้อ Fair value 120 บาท

บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส ระบุว่า ฝ่ายวิจัยคาด SCB จะมีกำไรสุทธิใน 3Q53 เท่า
กับ 6.81 พันล้านบาท เติบโตถึง 28.2% qoq ซึ่งเป็นกำไรระดับสูงสุดในรายไตรมาสในรอบ 7
ปี โดยคาดธนาคารฯ จะมีการบันทึกกำไรจากการขายหุ้นของ บ.กรุงเทพซินธิติกส์ฯ (เป็นหลัก
ทรัพย์ที่ได้จากการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้) จำนวน 5.14 แสนหุ้น มูลค่าสุทธิจากภาษีฯ รวม
770 ล้านบาท (ขายให้แก่ บ.เอสซีจี เคมิคอลล์ฯ) หากไม่รวมรายการดังกล่าว พบว่ากำไรจากการ
ดำเนินงานใน 3Q53 ยังเติบโตถึง 13.5% qoq มาจากการเติบโตของทั้งรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ
และรายได้มิใช่ดอกเบี้ยถึง 3.6% qoq และ 16.9% qoq ตามลำดับ โดยในส่วนของรายได้
ดอกเบี้ยสุทธิมีปัจจัยผลักดันจากการเติบโตของสินเชื่อสุทธิที่ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องอีก 1.5% qoq
(โดยรวมแล้วสินเชื่อสุทธิใน 9M53 เติบโตถึง 4.8% จากสิ้นปี 2552 ยังสอดคล้องกับเป้าหมาย
ทั้งปี 2553 ที่ 7.1% yoy ตามที่ฝ่ายวิจัยคาด) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเติบโตของสินเชื่อรายใหญ่ที่
เห็นสัญญาณบวกมากขึ้นในงวดนี้ จากโครงการต่างๆ ที่มีการเบิกใช้สินเชื่อที่ธนาคารฯ ได้อนุมัติ
ไปในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ SME มีการเติบโตเพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้จะยังไม่มากและต่ำกว่าเป้า
หมายอยู่ แต่ยังคาดหวังได้กับการเติบโตเชิงรุกใน 4Q53 เพราะเป็นช่วงฤดูกาลของ SME ส่วน
สินเชื่อรายย่อยนั้น กลุ่มที่ยังมีการเติบโตเชิงรุกต่อเนื่องคือสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ขณะที่สินเชื่อ
เพื่อที่อยู่อาศัยเริ่มชะลอการเติบโตลงแล้วจากที่เติบโตโดดเด่นมากใน 1H53 โดยคาด NIM ใน
3Q53 จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.64% จาก 3.46% ในงวดที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยผลักดันจาก 1) การ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทขึ้น 0.15% เมื่อปลายเดือน ก.ค.53 ที่ผ่านมา และ 2)
การบันทึกเงินปันผลรับจากกองทุนวายุภักษ์สำหรับผลการดำเนินงาน 1H53 ที่มาราว 320 ล้าน
บาท สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย คาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมฯ ยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีต่อ
เนื่องตามการขยายสินเชื่อใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งธุรกรรมด้านบัตร ATM และบัตรเครดิตล้วน
กระเตื้องขึ้นจาก 2Q53 ที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศ ส่วนกำไรจากธุรกรรม Fx คาด
ว่าจะฟื้นตัวกลับสู่ระดับปกติที่เคยทำได้ราว 700 ล้านบาท จากที่หดตัวลงไปมากใน 2Q53 ที่ผ่าน
มา สำหรับประเด็นเรื่อง NPL และการตั้งสำรองหนี้ฯ ไม่มีประเด็นที่น่ากังวล โดยรวมแล้ว คาด
กำไรสุทธิใน 9M53 จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.85 หมื่นล้านบาท เติบโตถึง 15.8% จากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน และคิดเป็น 80% ของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2553 ที่ฝ่ายวิจัยคาด
ฝ่ายวิจัยยังมีมุมมองบวกต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจและการเติบโตของกำไรสุทธิของ SCB ใน
4Q53 และปี 2554 ซึ่งจะฟื้นตัวเต็มที่ ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิอีกครั้ง
หากการเติบโตของสินเชื่อรายใหญ่ยังคงเป็นไปในอัตราเร่งมากขึ้น จนทำให้การเติบโตของสิน
เชื่อสุทธิโดยรวมทั้งปี 2553 สูงเกินเป้าหมายที่ฝ่ายวิจัยคาดที่ 7.1% yoy และทิศทางอัตรา
ดอกเบี้ยที่เข้าสู่ทิศทางขาขึ้น และสูงกว่าที่ฝ่ายวิจัยประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น
75bp ในปี 2554 ทั้งนี้ กลยุทธ์ธุรกิจปี 2553 ของ SCB ที่ได้ปรับเปลี่ยนมาเน้นการให้บริการ
ครบวงจรแก่ลูกค้าเป้าหมายในกลุ่มบริษัท Blue chip จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้มากขึ้น หาก
ความเชื่อมั่นด้านการลงทุนของภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะโครงการในมาบตาพุดหลาย
โครงการที่ไม่เข้าข่ายโครงการรุนแรงที่จะเริ่มกลับมาผลิตเชิงพาณิชย์ได้ ผนวกกับโครงการลง
ทุนที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการไทยเข้มแข็งที่ยังเดินหน้าต่อเนื่อง ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่จะช่วยผลัก
ดันการเติบโตของสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ของ SCB ในปี 2553-54 ตามลำดับ
ฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการผลการดำเนินงานปี 2553-54 และคำแนะนำซื้อ โดย
กำหนด Fair value เท่ากับ 120 บาท อิง PBV 2.5 เท่าปี 2554 ภายใต้คาดการณ์ ROE ระยะ
ยาวที่ 20% ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในกลุ่ม ธ.พ. โดยราคาหุ้น SCB เริ่มสะท้อนพื้นฐานธุรกิจที่จะ
กลับมาเติบโตเชิงรุกมากขึ้นใน 2H53 และเต็มที่ทั้งปีในปี 2554 และคาดว่าจะสามารถ
outperform ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ในไม่ช้า นอกจากนี้ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นทิศทาง
ขาขึ้น จะยิ่งส่งผลบวกต่อแนวโน้มธุรกิจของ SCB จากการที่มีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงถึง
104.8%




เรียบเรียง โดย กานต์ธิดา หวานฉ่ำ
อีเมล์แสดงความคิดเห็น commentnews@efinancethai.com




ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 24/09/10 เวลา 8:25:53

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น