วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สภาอุตฯ เสนอ 7 มาตรการใหม่เร่งด่วนให้ภาครัฐช่วยเหลือเอกชน หลังบาทแข็งค่าไม่หยุด

สภาอุตฯ เสนอ 7 มาตรการใหม่เร่งด่วนให้ภาครัฐช่วยเหลือเอกชน หลังบาทแข็งค่าไม่
หยุด ขณะที่เงินบาทแข็งค่าตั้งแต่ต้นปีถึง 30 ก.ย.53 แข็งค่า9% โดยเฉพาะช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.
เงินบาทแข็งค่าสุดในภูมิภาค ยังเชื่อส่งออกปีนี้โต 20-21 ตามเป้า

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผย
ว่าค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2553 เดือนมกราคม จนถึงวันที่ 30 กันยายน
2553 แข็งค่าอย่างเป็นนัย โดย เงินบาทมีการแข็งค่า2.975 บาท ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อย
ละ 9.0% ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกโดยรวม โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีการใช้วัตถุดิบใน
ประเทศในสัดส่วนที่สูง ก็จะได้รับผลกระทบในอัตราที่สูงเช่นกัน (High Local content) ทั้งนี้
พบว่า ผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบมากมีจำนวนร้อยละ 30 ,ได้รับผลกระทบปานกลาง ร้อยละ 41,
ได้รับผลกระทบน้อย ร้อยละ 12 และไม่ได้รับผลกระทบร้อยละ 12 (สัดส่วนที่เหลือแจ้งว่ามีทั้ง
กระทบและไม่กระทบ)
'กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า , อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ก็ได้แจ้งผลกระทบเช่นกัน ซึ่ง
การปรับราคาทำได้ไม่คุ้มกับอัตราแข็งค่าของเงินบาท ทั้งนี้ หลายธุรกิจส่งออกโดยเฉพาะ
SMEs เริ่มประสบปัญหาการขาดทุน แต่ยังจำเป็นที่ยังต้องขายเพื่อรักษาตลาด และรักษาสภาพ
คล่องของธุรกิจ และอาจมีการDownsize ในเร็ว ๆ นี้ 'นายพยุงศักดิ์กล่าว
ส.อ.ท. ได้เสนอ 7มาตรการเร่งด่วนที่ขอให้ภาครัฐดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการ
ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกโดยรวม ประกอบด้วย
ขอให้มีการผลักดันให้ผู้ส่งออกชำระค่าระวางเรือได้โดยไม่ต้องแลกเป็นเงินบาท ทั้ง
การซื้อผ่านเอเยนต์เรือและผ่าน Freight Forwarder ซึ่งทาง ธปท. ไม่ขัดข้อง แต่ยังติดขัดทาง
ด้านเทคนิคด้านอัตราแลกเปลี่ยนกับกรมสรรพากร ทั้งนี้หากสามารถทำได้จะสามารถช่วยให้ผู้ส่ง
ออกลดค่าCAF : Currency Adjust Fee ซึ่งบริษัทเรือจะเก็บกับผู้ส่งออกเฉลี่ยร้อยละ 1.5 ถึง
2.0 แต่หากเป็น SMEs หรือการซื้อระวางเรือผ่าน Freight Forwarder อาจสูงถึงร้อยละ 5.0
หรือมากกว่านี้
ตามมาด้วย ขอให้กระทรวงการคลังเร่งหาแนวทางให้ผู้ส่งออกชำระค่าสินค้าเป็นเงิน
ตราต่างประเทศ (อาจใช้กับคู่ค้าซึ่งมีทั้งการนำเข้าและส่งออกซึ่งสามารถเปิดบัญชีเงินฝาก
ประเภท FCD)
ขอให้กรมศุลกากร ลดค่าใบขนจากปกติในราคา 200 บาท และ ค่าล่วงเวลาหลังเวลา
ราชการเพื่อลดต้นทุนของผู้ส่งออก
ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดการออกมาวิพากษ์ เกี่ยวกับด้านการส่งออกว่าไม่ได้
รับผลกระทบ และ วิพากษ์ ค่าเงินบาทในทิศทางที่ไม่สร้างสรรค์และไม่เป็นประโยชน์ต่อภาคการ
ส่งออก
ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และ กระทรวงการคลัง หามาตรการที่จะลดการทะลัก
เข้ามาของเงินสกุลต่างประเทศ (Capital Control) ซึ่งที่ผ่านมามีเงินตราต่างประเทศเข้ามา
แล้วกว่า 1 แสนล้านบาท
ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ยังคงมีมาตรการ
คงที่อัตราดอกเบี้ยชี้นำ ร้อยละ 1.75
และ ขอให้รัฐบาลมีการสนับสนุนสภาพคล่องของผู้ส่งออก SME ที่ได้รับผลกระทบ
โดยขอให้ธนาคารพัฒนาวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ปล่อย
สินเชื่อในกรอบวงเงินรวม 5,000 ล้านบาท ที่มีอัตราดอกเบี้ย MLR-3 และ การปล่อยกู้ให้มีวิธี
การผ่อนปรนหลักประกัน และ ปล่อยกู้ในลักษณะ PSA : Public Service Account
ทิศทางเงินบาทยังมีการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องและยังมีทิศทางชัดเจนว่าจะลงไปใน
ระดับที่ต่ำกว่า 30.00 บาท/ดอลลาร์ ในเร็วนี้ ขณะที่ ณ วันที่ 30 กันยายน เงินบาทยังทำสถิติแข็ง
ต่อเนื่องสูงสุดในรอบ 13 ปี อยู่ที่ระดับ 30.1752 (อัตราถัวเฉลี่ย อยู่ที่ 30.401 บาท/ดอลลาร์)
ทั้งนี้พบว่าเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2553 มีการแข็งค่าอย่างผิดปกติ โดยแข็งค่าเป็นอันดับ 1
ของภูมิภาคที่อัตรา5.640% อันดับที่ 2 เงินวอนของเกาหลีแข็งค่า 3.679% อันดับที่ 3 เงินเปโซ
ของฟิลิปปินส์แข็งค่า 3.488%อันดับที่ 4 เงินดอลลาร์สิงค์โปร์แข็งค่า 3.234% อันดับที่ 5 เงินรัง
กิตของมาเลเซียแข็งค่า 3.234% อันดับ6 เงินหยวนของจีนแข็งค่า 1.186% ขณะที่เวียดนาม
เงินอ่อนค่า 2.035% อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 เป็นการ
แข็งค่าสอดคล้องกับภูมิภาค ยกเว้น เงินหยวนกับฮ่องกงดอลลาร์กลับมีการอ่อนค่าเล็กน้อยที่ระดับ
ร้อยละ 0.0710 และ 0.0309 ตามลำดับ แต่การแข็งค่าเงินบาทของไทยก็ยังแข็งค่ามากกว่า
มาเลเซียและประเทศสิงค์โปร์
ทั้งนี้ปัจจัยของการแข็งค่าเงินบาท เนื่องจาก สภาวะความไม่ชัดเจนของเศรษฐกิจ
ประเทศสหรัฐ และบางประเทศในยุโรป ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ทำให้ประเทศเศรษฐกิจของสหภาพ
ยุโรป โดยรวม) ยังไม่ชัดเจนในการฟื้นตัว อาจต้องใช้เวลาไปถึงกลางปี หรือ ปลายปี 2554
ประกอบกับ อัตราดอกเบี้ยชี้นำของธนาคารแห่งประเทศไทย และ ดอกเบี้ยอนุพันธ์การเงินของ
ไทยให้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่า รวมถึงมาตรการของธปท. เป็นเพียงมาตรการการผ่อนปรน
เงื่อนไขให้นักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศให้ง่ายขึ้น จึงไม่อาจเห็นผลสัมฤทธิ์ต่อการกดดัน
ให้เงินบาทเป็นไปในทิศทางที่เอื้อประโยชน์ต่อการแข่งขันด้านการส่งออกของประเทศ
อย่างไรก็ตามการส่งออกปีนี้ คงทำตัวเลขได้เกินเป้าประมาณ 185,000 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ประมาณร้อยละ 20-21 แม้ผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบ
จากเงินบาท
ทั้งนี้พบว่าตัวเลขส่งออกในเดือนสิงหาคม 2553 ที่มีการขยายตัวร้อยละ 23.9 อาจ
เป็นตัวเลขลวงตา เนื่องจาก ภาพรวม สินค้ามีการปรับราคาภายใต้เงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่ง
ตัวเลขการส่งออก 8 เดือน ในเทอม (Term) ดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 125,083 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ32.6 แต่ในเทอม (Term) เงินบาท กลับเป็นจำนวนเงิน 4,047,974 ล้าน
บาท มีการขยายตัวเพียงร้อยละ24.3 ซึ่งต่างกันถึงร้อยละ 8.3 แสดงให้เห็นว่าผู้ส่งออกไม่สามารถ
ปรับราคาสินค้าให้ทันกับการแข็งค่าของเงิน ผลต่างก็คือ รายได้ที่หายไปเป็นตัวเลขทั้งประเทศ
ประมาณ 98,527 ล้านบาท




เรียบเรียง โดย พรทิพย์ พลสิทธิ์
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น commentnews@efinancethai.com




ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 01/10/10 เวลา 15:08:49

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น